วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557




                                                                  ความรู้เพิ่มเติม

                       โทรทัศน์ครู เรื่องสอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์





            ทำให้ได้ทราบแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์     จิตวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาท สำคัญยิ่งต่อความ สำเร็จในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ
ความสามารถแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพของผู้เรียน ในการจัดการศึกษา
วิทยาศาสตร์ของควรพัฒนำให้ผู้เรียนมีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ การสอนวิทยาศาสตร์ ต้องให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ครูควรมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย อยากรู้ อยากลอง โดยคุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตวิทยาศาสตร์ 6 ลักษณะ คือ   1. เป็นคนที่มีเหตุผล  2.เป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็น 3.เป็นบุคคลที่มีใจกว้าง
4. เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ และมีใจเป็นกลาง 5. มีความเพียรพยายาม 6. มีความละเอียดรอบคอบ

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557



                                                                     บันทึกอนุทิน

                                                            วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557

                                                    ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให็ออกแบบแผ่นผับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน

ผลงานแผ่นผับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน



นอกจากนี้อาจารย์ยังสอนเกี่ยวกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์

1. คำถามใช้การสังเกต

2. คำถามทบทวนความจำ

3. คำถามบอกความหมาย

4. คำถามอธิบาย

5. คำถามเปรียบเทียบ

6. คำถามให้ยกตัวอย่าง




                                                            บันทึกอนุทิน

                                                    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557

                                           ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากไม่สบาย






                                                                      บันทึกอนุทิน

                                                               วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557

                                                       ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 13.10-16.40น.

เนื้อหา (The content) วันนีเพื่อนๆออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
กลุ่มที่1 หน่วยแปรงสีฟัน (Toothbrush until)

เรื่อง ประเภทของแปรงสีฟัน

ขั้นนำ  ครูพาเด็กร้องเพลงสวัสดี

เพลงสวัสดีเธอจ๋า

                                            สวัสดีเธอจ๋าสวัสดี                 ชื่นชีวียิ้มแย้มแจ่มใส
                                       มาพบกับวันนีแสนดีใจ                รื่นเริงไปร้องรำให้สำราญ
                                      ลั่น ลัล ลา ลั่น ลา ลัล ลา  (ซำ้)


ขั้นสอน ครูพาเด็กท่องคำคล้องจองแปรงสีฟัน

คำคล้องจองแปรงสีฟัน

                                                                แปรงสีฟันมีหลายชนิด

                                                                 แต่ละชนิดมีดีต่างกัน

                                                                  แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น

                                                               รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี

                                                                 แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี

                                                              สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน


                                           ขั้นสรุป ครูและเด้กร่วมกันสรุปประเภทของแปรงสีฟัน


กลุ่มที่หน่วยผีเสื้อ (Butterfly unit)

เรื่อง  ลักษณะของผีเสื้อ



ขั้นนำ  ครูพาเด็กร้องเพลงสวัสดี

เพลงสวัสดี

สวัสดีแบบไทย ไทยแล้วก็ไปแบบสากล
สวัสดีทุกๆแบบสากลแล้วก็ไปแบบไทย

ขั้นสอน    ครูมีรูปภาพผีเสื้อแต่ละประเภทมาให้เด็กดู และพูดคุยกับเด็กเรื่องของลักษณะของผีเสื้อ พร้อมทั้งบันทึกลงในกราฟฟิค


ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันอ่านลักษณะของผีเสื้อแต่ละชนิดร่วมกัน




กลุ่มที่ 3  หน่วยกล้วย (Bananas unit)
เรื่อง  ชนิดของกล้วย

ขั้นนำ  ครูพาเด็กร้องเพลง

เพลงสวัสดีเธอจ๋า

                                            สวัสดีเธอจ๋าสวัสดี                 ชื่นชีวียิ้มแย้มแจ่มใส
                                       มาพบกับวันนีแสนดีใจ                รื่นเริงไปร้องรำให้สำราญ
                                      ลั่น ลัล ลา ลั่น ลา ลัล ลา  (ซำ้)


ขั้นสอน  ครูพาเด็กร้อง

เพลงกล้วย

กล้วย คือ ผลไม้ใคร ใครก็ชอบกินกล้วย

ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วย

กินกล้วยมีวิตตามิน

ลั่น ลัล ลา ลั่น ลา ลัล ลา  (ซำ้)


ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุปชนิดของกล้วย

กิจกรรม COOKING
ทำ ""ทาโกยากิไข่ข้าว""  โดยอาจารย์เป็นผู้เตรียมวัสดุและอุปกรณ์การทำมาให้ อาจารย์บอกขั้นตอนและวิธีการทำทาโกยากิไข่ข้าว และหลังจากนั้น อาจารย์ให้จัดโต๊ะเป็น 4 ด้าน และเเบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มละ 5 คน ให้วนกันทำโดยการเติมส่วนประกอบเครื่องของตนเอง


อาจารย์บอกขั้นตอนและวิธีการทำทาโกยากิไข่ข้าว




อุปกรณ์ในการทำทาโกยากิไข่ข้าว




บรรยากาศในการทำทาโกยากิไข่ข้าว



เพื่อนนำเสนองานวิจัย  (Research Presentation)

เรื่องที่1    การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ฏปฐมวัยโดยใช้การเรียนการสอนแบบจิตปัญญา    


เรื่องที่2  ผลจากการจัดประสบการณืนอกห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



 เรื่องที่3   ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นยอกห้องเรียน





                                                                        บันทึกอนุทิน

                                                               วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557

                                                   ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


วันนี้เพื่อนๆออกมานำเสนอแผนการสอน

หน่วยกบ



ส่วนประกอบของกบ

ขั้นนำ : บอกส่วนประกอบของกบ และความแตกต่างระหว่างกบนา กับ กบบลูฟร็อก

ขั้นสอน : 1.ร้องเพลงกบ 
                2.ครูมีรูปภาพกบนา กับ กบบลูฟร็อก มาให้เด็กดูและให้เด็กบอกระหว่างความแตกต่างของกบทั้ง 2 ชนิด จากนั้นครูเขียนตามที่เด็กบอกลงในแผ่นชาร์ต

ขั้นสรุป : ครูและเด็กช่วยกันอ่านความแตกต่างของกบ 2 ชนิด ร่วมกัน

หน่วยกระหล่ำปลี

ประโยชน์ และ ข้อควรระวัง

ขั้นนำ : นำเข้าสู่บทเรียนโดยการปรบมือ เพื่อให้เด็กมีสมาธิและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้

ขั้นสอน : ร้องเพลงกะหล่ำปลี และ เล่านิทานเรื่องคนสวนขายกะหล่ำปลี จากนั้นครูถามประโยชน์และข้อควรระวังจากกะหล่ำปลี จากเด็กๆ แต่ครูมีการพูดนำให้เด็กได้คิดก่อน

ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันสรุปโทษของกะหล่ำปลี และเขียนลงในกระดาษหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งอ่านครูอ่านไปพร้อมๆกับเด็ก

หน่วยส้ม



ประโยชน์ของส้ม

 ขั้นนำ : ครูร้องพูดคำคล้องจอง เพื่อเก็บเด็ก

ขั้นสอน : ครูสอนการทำน้ำส้มคั่น โดยครูเริ่มจากแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กรู้จักทีละอย่าง จากนั้นครูสอนวิธีการทำน้ำส้มคั่นทีละขั้นตอน 

ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็กที่อยากจะลองทำน้ำส้มคั่นออกมาทำหน้าห้องเรียน และให้แบ่งเพื่อนชิม

หน่วยปลา



  ขั้นนำ : ครูใช้การปรบมือ เพื่อเก็บเด็ก

ขั้นสอน : ครูสอนเด็กทำ ปลาทูทอด โดยครูจะบอกอุปกรณ์ และวิธีการทำปลาทูทอดแก่เด็กๆ

ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็ก 1 คน เพื่อที่จะออกมาทำปลาทูทอดกับครู และนำไปแบ่งให้เพื่อนๆชิม



                                                                          บันทึกอนุทิน

                                                                 วันที่ 24 ตุลาคม 2557

                                                        ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีสื่อที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป






ส่วนสื่อของดิฉันคือ แก้วส่งเสียงได้รับความรู้มาจาก VDO หนึ่งซึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์



เทคนิคในการสอนของอาจารย์ อาจารย์จะสอนโดยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษารู้จักคิดว่าสื่อที่ตนประดิษฐิ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง





                                                                     บันทึกอนุทิน

                                                              วันที่ 18 ตุลาคม 2557

                                                    ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์สอนการเขียนแผน 6 กิจกรรมหลัก

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

3. กิจกรรมเสรี

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

5. กิจกรรมกลางแจ้ง

6. เกมการศึกษา

โดยทั้ง 6 กิจกรรมนี้จะต้องเขียนให้ครบทั้ง 5 วัน เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะก็ต้องเขียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์  กิจกรรมเสรี ก็ต้องเขียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์เช่นเดียวกัน




                                                                   บันทึกอนุทิน

                                                              วันที่ 17 ตุลาคม 2557

                                                         ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับ

           หลักการเขียนแผนการเรียนรู้

การเรียนการสอนทุกอย่างเด็กจะต้องมือลงกระทำด้วยตนเอง และเด็กจะต้องลองผิดลองถูก

เกมส์การศึกษา

1. จับคู่ภาพ

2. จิ๊กซอ ต่อภาพ

3. เรียงลำดับ

4. ออสโต (ศึกษารายละเอียดของภาพ)

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

1. เล่นนิทาน

2. อธิบาย

3. การแสดงพฤติกรรม

ประสบการณ์สำคัญ

1. วิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต

2. คณิตศาสตร์ คือ การคำนวณ การคิด

3. ด้านสติปัญญา คือ ภาษา

4. สังคม คือ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

5. ร่างกาย คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย

การนำเข้าสู่บทเรียน

1. การร้องเพลง

2. นิทาน

3. คำคล้องจอง

การประเมินผล

1. การสังเกต

การประเมินผล

การประเมินตนเอง     มีความในการเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายวิธีการเขียนแผน และจดบันทึก

การประเมินเพื่อน   มีความสนใจฟังอาจารย์อธิบาย และตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์     มีความในการสอน เข้าสอนตรงเวลา เนื่อหาที่สอนง่ายและทำให้มีความเข้าใจได้มากขึ้น



                                                              บันทึกอนุทิน

                                                       วันที่ 10 ตุลาคม 2557

                                                  ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.







                                                                    บันทึกอนุทิน

                                                              วันที่ 3 ตุลาคม 2557

                                                  ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10-16.40น.

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์

     อุปกรณ์

1. แกนทิชชู ตัดครึ่งกึ่งกลาง

2. ไหมพรม

3. สีเมจิ

4. กระดาษ

                                                                             วิธีทำ

1. ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ส่วน


2. นำแกนทิชชูมาเจาะรูด้านข้าง 2 รู ด้วยที่เจาะกระดาษ



3. นำไหมพรม ความยาว 1 ช่วงแขนมาสร้อยใส่ลงไปในรูของแกนทิชชูทั้ง 2 รู


4. นำกระดาษมาตัดเป็นวงกลม แล้ววาดภาพ จากนั้นตกแต่งให้สวยงามแล้วนำมาติดที่แกนทิชชู


วิธีการเล่น

นำไปคล้องคอแล้วใช้มือทั้งสองข้าง ซักขึ้น-ลง เพื่อให้รูปสัตว์เคลื่อนไหวขึ้ง-ลงได้

กานนำเสนอบทความ

1. การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สิ่งประดิษฐ์
2. สอนลูกเรื่องแสงและเงา

3. การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง

4. การสอนลูกเรื่องไฟฉาย

การวัดและประเมินผล

ประเมินตนเอง มีการเตรียมแกนทิชชูมาทำกิจกรรม ให้ความสนใจในการประดิษฐ์สื่อที่อาจารรย์เตรียมมาให้ทำ

ประเมินเพื่อน เพื่อนให้ความร่วมมือและสนใจในการประดิษฐ์สื่อที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนการทำสื่อที่ง่ายและเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการทำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย







                                                                  บันทึกอนุทิน

                                                              วันที่ 26 กันยายน 2557

                                                      ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40น.

       ความรู้ที่ได้รับ

                       อาจารย์ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์ กังหันมหัศจรรย์

อุปกรณ์

1. กระดาษ

2. กรรไกร

3. คลิบหนีบกระดาษ

วิธีการทำ

- พับกระดาษที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ โดยพับครึ่งให้เท่าๆกัน

- จากนั้นคลี่กระดาษออก แนวนำกรรไกรมาตักกระดาษตามแนวยาวจนถึงที่พับครึ่งไว้ แล้วพับกระดาษแถบที่ไม่ได้ตัดเข้าไปนิดหนึ่ง นำคลิบหนีบกระดาษมาติด


จากนั้นอาจารย์ให้ออกมานำเสนอผลงานที่ตัวเองทำมาว่าเป็นอย่างไร โดยให้โยนขึ้นไปบนอากาสแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกังหัน โดยแถวที่ 1-3 ตัดกระดาาให้ถึงแกนกลางที่พับไว้ แถวที่ 4-5 ตัดกระดาษไม่ต้องถึงแกนกลาง แล้วออกมาโยนหน้าชั้นเรียนจากนั้นให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแต่ละแถว

บทความของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ

เรื่องที่ 1 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

เรื่องที่ 2 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่องที่ 3 การจัดกาารเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่องที่ 4 สอนลูกเรื่องอากาศ

เรื่องที่ 5 ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่วิทยาศาสตร์

นอกจากนี้อาจารย์ยังอธิบายหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้งานออกมาดี

ประเมินผล

ประเมินตนเอง  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์

ประเมินเพื่อน มาเรียนตรงเวลาเป็นส่วนใหญ่ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์

ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา มีสิ่งประดิษฐ์มาให้ทำ มีความพร้อมในการสอน และพูดสรุปทุกครั้งที่เรียน ว่าวันนี้นักศึกษาเรียนไรไปบ้าง และอาจารย์เปิดโอกาสให้ซักถามก่อนเลิกเรียน



                                                                    บันทึกอนุทิน

                                                            วันที่ 19 กันยายน 2557

                                                    ครั้งที่ 5 เวลาเข้าเรียน 13.10-16.40 น.

       ความรู้ที่ได้รับ


                                                                     ความลับของแสง



ความหมาย

       แสงคือคลื่นชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นของน้ำทะเล มีความยาวของคลื่นสั้นมาก แต่ใขขณะเดียวกันก็เคลื่อนที่เร็มมาก 300000 กิโลเมตรต่อวินาที เปรียบให้เห็นง่ายๆ ถ้าคนเราวิ่งเร็วเท่ากับแสง ก็เท่ากับวิ่งรอบโลก 7 รอบ ใน 1 วินาที

ความสำคัญ

        ถ้าไม่มีแสงเราก้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งรอบๆตัวได้ แสงมีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะว่าเราต้องใช้ในการทำงาน การเดินทางต่างๆ

คุณสมบัติของแสง

          แสงสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ไดด้หลายอย่าง นอกจากการมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวแล้ว ยังสามารถนำมาใช้แทนพลังงานไฟฟ้าได้โดยการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์

วัตถุต่างๆบนโลกที่เกี่ยวกับแสงมีด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ

1. วัตถุโปร่งแสง คือ แสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัดเจน เช่นกระจกฝ้า

2. วัตถุโปร่งใส คือ แสงผ่านไปได้ทั้งหมด มองเห้นชัดเจน เช่น กระจกใส

3. วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้าตาเรา

สรุป คือ คลื่นชนิดหนึ่งที่มีพลังงานการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น